วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
(Udonthani Technical College)
คติพจน์
“ เป็นคนดี มีฝีมือ ถือปัญญา อย่าประมาท ”
ปรัชญา
“ เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม เป็นผู้นำทางอาชีพ ”
เอกลักษณ์
“ สถาบันเด่น เน้นงานช่าง ”
อัตลักษณ์
“ ให้บริการอาชีพสู่สังคม ”
วิสัยทัศน์
ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านช่างอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพอิสระ สอดคล้องต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
พันธกิจ
ดอกไม้ประจำวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี
อินทนิล หรืออินทนิลน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lagerstroemia speciosa(L.) Pers.
ลักษณะ : เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 10 – 25 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ อาจตกสะเก็ดเป็นแผ่นบาง ๆ บ้างเล็กน้อย
ใบ : ปลายใบแหลแผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมันทั้งสองด้านไม่มีขน
ดอก : ดอกออกเป็นช่อตั้งที่ปลายกิ่ง ดอกสีม่วงสด ม่วงอมชมพูหรือชมพู และสีจะซีดจางลง เมื่อดอกโรย ออกดอกเดือนมีนาคม-มิถุนายน
การปลูก : ชอบแดดเต็มวัน ทนแล้ง นิยมปลูกริมถนนทางเดินและริมบ่อน้ำ
ประวัติ ที่ตั้ง เนื้อที่
วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี เดิมชื่อ "โรงเรียนช่างไม้อุดรธานี" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ซึ่งตั้งอยู่ที่ ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ณ สถาบันราชภัฎอุดรธานีในปัจจุบัน) พ.ศ. 2502 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนการช่างอุดรธานี" โดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การ ส.ป.อ. พ.ศ.2514 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเทคนิคอุดรธานี" โดยได้รับการช่วยเหลือภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ.2519 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษา โดยรวมกันกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี แบ่งออกเป็น 2 วิทยาเขตในนาม "วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี วิทยาเขต 1" ต่อมาเมื่อวันที่1 มกราคม พ.ศ.2522 ได้แยกวิทยาเขตออกจากกันและเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี" โดยมีเนื้อที่4 แปลง รวม 33 ไร่ 1 งาน 72 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 3 ถนนวัฒนานุวงศ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี (ตั้งอยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัดอุดรธานี)
- แปลงที่ 1 ที่ตั้งอาคาร และโรงฝึกงาน มีเนื้อที่ 19 ไร่ 22.22 ตารางวา
- แปลงที่ 2 ที่ตั้งอาคาร บ้านพักครู และสนามกีฬา มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 13.04 ตารางวา
- แปลงที่ 3 บ้านพักครู และนักการภารโรง มีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 46.1 ตารางวา
- แปลงที่ 4 ที่ตั้งอาคาร และบ้านพักผู้อำนวยการ มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 80.04 ตารางวา
ประวัติ การจัดการศึกษา
พ.ศ. 2481 เปิดหลักสูตรประโยคประถมอาชีพช่างไม้ เปิดสอนวิชาช่างไม้ หลักสูตร 4 ปี (ป.4)
พ.ศ. 2483 เปิดหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาขั้นต้น เปิดสอนวิชาช่างไม้ หลักสูตร 3 ปี (ม.3)
พ.ศ. 2496 เปิดหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาขั้นกลาง เปิดสอนวิชาช่างไม้ หลักสูตร 3 ปี (ม.3)
พ.ศ. 2497 เปิดหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น เปิดสอนวิชาช่างไม้ หลักสูตร 3 ปี (ม.3)
เปิดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนวิชาช่างไม้ หลักสูตร 3 ปี (ม.6)
พ.ศ. 2501 เปิดหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง เปิดสอนวิชาช่างไม้ หลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2503 เปิดหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง (เพิ่มเติม) หลักสูตร 3 ปี (ม.6)
- ช่างก่อสร้าง
- ช่างเครื่องยนต์
- ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
- ช่างกลโรงงาน
พ.ศ. 2505 เปิดหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ หลักสูตร 3 ปี (ม.ศ. 6)
- ช่างเครื่องยนต์
- ช่างเชื่อมโลหะแผ่น
- ช่างกลโรงงาน
- ช่างก่อสร้าง
- ช่างวิทยุและโทรคมนาคม
พ.ศ. 2507 เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ
- เปิดสอนเพิ่มเติมในสาขาวิชาช่างไฟฟ้า
พ.ศ. 2519 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยรับผู้จบ ม.ศ. 6 หรือ
- หลักสูตร 2 ปี
- ช่างไฟฟ้ากำลัง
- ช่างยนต์
- ช่างกลโลหะ
- ช่างก่อสร้าง
พ.ศ. 2520 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)หลักสูตร 3 ปี
- ช่างยนต์
- ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
- ช่างกลโรงงาน
- ช่างก่อสร้าง
- ช่างวิทยุและโทรคมนาคม (พ.ศ. 2522 เปลี่ยนเป็นแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์)
- ช่างไฟฟ้า
พ.ศ. 2523 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี
- เปิดสอนเพิ่มเติมใน สาขาวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
- เปิดสอนเพิ่มเติมใน สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
พ.ศ. 2525 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- เปิดสอนเพิ่มเติมใน สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2526 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- เปลี่ยนชื่อ สาขาวิชาจากช่างกลโรงงานเป็นช่างเทคนิคการผลิต
- เปลี่ยนชื่อ สาขาวิชาจากช่างเชื่อมโลหะแผ่นเป็นช่างเทคนิคโลหะ
พ.ศ. 2536 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.)
- สาขาวิชาครูเทคนิคไฟฟ้าสื่อสาร
พ.ศ. 2538 หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.)
- สาขาเทคนิคการผลิต
พ.ศ. 2547 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2548 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- สาขาวิชาโลจิสติกส์
พ.ศ. 2555 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
- สาขาเขียนแบบเครื่องกล
พ.ศ. 2556 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2557 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
- สาขาเทคโนโลยียานยนต์
- สาขาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
- สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า
พ.ศ. 2558 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2559 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)
- สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์
- สาขาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
พ.ศ. 2560 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์
ชื่อสถานศึกษา :วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี (Udonthani Technical College)
ที่ตั้ง :เลขที่ 3 ถนนวัฒนานุวงศ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี 41000
เบอร์โทรศัพท์ : 0-4222-1538, 0-4224-8592
เบอร์โทรสาร : 0-4224-0031, 0-4224-6038
เว็บไซด์ : www.udontech.ac.th
สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายคุกกี้
Cookie Policy
คุกกี้จำเป็น
คุกกี้จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้ถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังชั่นพื้นฐาน
มีการจัดเก็บการจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ เก็บ log และคุณลักษณะด้านความปลอดภัยด้านเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร
สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
เว็บไซต์นี้มีการใช้ Cookie โปรดกด "ยอมรับ" ในการเปิดใช้งาน Cookie ของเว็บไซต์